วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนร่วมมือระหว่างกัน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)


ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส

                 ไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามเมื่อปี ...(อ่านเพิ่มเติม)


 ไทย – เยอรมนี

          ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ...(อ่านเพิ่มเติม)

ไทย – สวิส

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาพันธรัฐสวิสได้พัฒนาอย่างราบรื่นและใกล้ชิดเป็นพิเศษมาตลอด สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงศึกษาและเจริญพระชนม์ที่สมาพันธรัฐสวิส อีกทั้ง...(อ่านเพิ่มเติม) 


การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ (หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)

  การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ


ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ ...(อ่านเพิ่มเติม) 

องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในด้านสิทธิมนุษยชน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 : สิทธิมนุษยชน)

 1.  คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(The United Nations Human Rights Council)

             ได้ก่อตั้งขึ้นแทนที่คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษย์ชนแห่งสหประชาชาติ(United  commission  for human  rights) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด  47  ประเทศ  วัตถุประสงค์ขององค์กรคือ การพัฒนากลไกสิทธิมนุษยชนเป็นเอกภาพมากขึ้น  สำหรับประเทศไทยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในหการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องสิทธิมุนษยชนให้แพร่หลายมากขึ้น เพื่อตรวจสอบ  ติดตาม ให้ข้อแนะนำและเผยแพร่รายงานกรณีสิทธิมนุษยชน  สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเฮก  ประเทศเนเธอร์แลนด์...(อ่านเพิ่มเติม) 


สิทธิมนุษยชน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 : สิทธิมนุษยชน)



           สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ...(อ่านเพิ่มเติม)


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเเละประเทศ (หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 : กฎหมาย)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช2557รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์...(อ่านเพิมเติม)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเเละครอบครัว (หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 : กฎหมาย)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน

วิธีการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

1.วันที่มีอายุครอบ 15 ปีบริบูรณ์
2.วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
3.วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน...(อ่านเพิ่มเติม)

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

รัฐ (หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 : การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)

ความหมายของรัฐ     

 “รัฐ” หมายถึง “ประชากรที่มาอยู่รวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่งทั้งชายและหญิง เป็นระยะเวลาอันยาวนาน รวมตัวกันเข้าเป็นสังคม มีความเป็นปึกแผ่น อยู่ในอาณาเขตที่แน่นอน มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม กฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นของตัวเอง มีผู้รับผิดชอบ โดยการใช้อำนาจในการปกครอง ควบคุมดูแลผลประโยชน์ของคนในสังคมให้เกิดความสงบสุขภายใน และป้องกันภัยอันตรายจากภายนอก”...(อ่านเพิ่มเติม)

คุณลักษณะของพลเมืองดี (หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 : พลเมืองดี)

ลักษณะของพลเมืองดี
                คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้
1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น...(อ่านเพิ่มเติม)

พลเมืองดี (หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 : พลเมืองดี)

ความหมายของพลเมืองดี
       พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลอื่น

ความสำคัญของพลเมืองดี


      พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติและการเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน


วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี
     วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี มีดังนี้
        1. เพื่อให้รู้จักปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
        2. เพื่อปลูกฝังทักษะการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
        3. เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
        4. เพื่อปลูกฝังให้มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อสังคม

การเลือกรับวัฒนธรรมสากล (หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : วัฒนธรรม)

 1) เลือกรับวัฒนธรรมสากลที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน 
                 วัฒนธรรมสากล เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนระบบระเบียบการค้าขายระหว่างประเทศ มีความสำคัญในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและคนต่างชาติอย่างมาก จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้ถ่องแท้ เลือกรับเฉพาะวัฒนธรรมที่ดี เหมาะกับสังคมไทยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตขอแงคนไทยในยุคปัจจุบัน

2) พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียควบคู่กันไป 
                   เนื่องจากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากวัฒนธรรมภายนอกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หรือกล่าวอีนัยหนึ่ง คือ ก่อให้เกิดคุณอนันต์และโทษมหันต์ ซึ่งถ้าหากเราศึกษาให้ดีใช้ให้เป็นประโยชน์ก็จะก่อให้เกิดความสะดวกสบาย ช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ได้ดังใจ แต่ผลเสียก็มีอยู่มาก เช่น ทำให้มนุษย์เกิดความฟุ้งเฟ้อ ให้ความสำคัญทางด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ เกิดการแก่งแย่งแข่งขันกัน อีกทั้งส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากและมีการปล่อยของเสียออกมาเป็นจำนวนมาก

3) มีการร่วมมือ ค้นคว้า เผยแพร่ รวมถึงการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย 
                 โดยสืบค้นจากคำบอกกล่าวของผู้เฒ่า ผู้อาวุโส และผู้รู้ จากนิยาย นิทานชาวบ้าน คัมภีร์ทางศาสนา วรรณคดีประเภทต่างๆ คำคม สุภาษิต คำพังเพย รวมถึงการสังเกตและเปรียบเทียบการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยได้จัดระบบความรู้ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ขึ้น พร้อมทั้งเผยแพร่ให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทย

4) มีการพัฒนาและผสมผสานวัฒนธรรมไทยให้เหมาะสมกับสมัยปัจจุบัน 
                    เราจะเห็นได้ว่า ภูมิปัญญาไทยหลายเรื่องได้กลายเป็นภูมิปัญญาสากล เช่น อาหารไทยได้รับความนิยมทั่วโลก มีการผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรม เช่น โบสถ์วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส        ในจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น การผสมผสานอย่างลงตัวของภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาตะวันตก ได้กลายเป็นมรดกสำคัญของวัฒนธรรมร่วมสมัยของไทย

วัฒนธรรม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : วัฒนธรรม)

ความหมายของวัฒนธรรม


คำว่า วัฒนธรรม มาจากคำว่า “Culture” ในภาษาอังกฤษ ซึ้งคำนนี้มีรากศัพท์มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม คำว่า “วัฒนธรรม” ในภาษาไทย เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ คำว่า “วัฒนะ” หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง และ คำว่า “ธรรม” หมายถึง การกระทำหรือข้อปฎิบัติ เมื่อรวมกันแล้ว วัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาษาไทยจึงหมายถึงข้อปฎิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามเเละเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเจริญก้าวหน้าจนเป็นเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ...(อ่านต่อ)

เเนวทางการเเก้ไขปัญหาเเละพัฒนาสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : การเปลี่ยนเเปลงเเละการพัฒนาทางสังคม)

เเนวทางการเเก้ไขปัญหาทางสังคม
         1. ปัญหาจากการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างทางสังคม
             แนวทางการแก้ปัญหาทางสังคม ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันผลักดันให้ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม เป็นคนดี ห่างไกลอบายมุขและยาเสพติด...(อ่านต่อ) 
            1.)  วิวัฒนาการการพัฒนาสังคมของประเทศไทย
                    การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมตามแผนพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาสังคม” นั้นประเทศไทยมีวิวัฒนาการของการพัฒนาสังคม นับตั้งแต่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้จัดตั้ง สภาพัฒน์ ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจเเห่งชาติ รวมทั้งได้จัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจเเห่งชาติ เเละได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบันนี้

            2 .)  การพัฒนาสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติของไทย...(อ่านต่อ)

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : การเปลี่ยนเเปลงเเละการพัฒนาทางสังคม)

สังคมคือการอยู่ร่วมกันด้วยดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เเต่เนื่องจากสังคมไม่ได้หยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา คนในสังคมจึงต้องรักษาความสมดุลกับโลกภายนอกท่ามกลางการเปลี่ยน เเปลงให้เหมาะสม 

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการแบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยการวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น..(อ่านต่อ)


ลักษณะสังคมไทย (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : สังคม)

ลักษณะสังคมไทย 

            1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม
            2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร
            3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ
            4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง ส่วนใหญ่เป็นการอพยพย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เช่น ชาวอีสานไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ ฯล

             5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก การพัฒนาประเทศจะให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนา จิตใจ สภาพวิถีชีวิตของบุคคลโดยเฉพาะสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยรวดเร็ว...   (อ่านต่อ)

โครงสร้างทางสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : สังคม)

โครงสร้างสังคม หมายถึง ระบบของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เชื่อมโยงให้เกิดกลุ่มสังคมที่มีรูปแบบต่าง กันตามระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะทำให้สังคมเป็นระเบียบ 

ลักษณะสำคัญของโครงสร้างสังคมมนุษย์
1. มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มีการติดต่อสัมพันธ์กัน
2. การติดต่อสัมพันธ์กันเป็นไปอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์
3. มีวัตถุประสงค์ในการติดต่อสัมพันธ์กัน
4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้เสมอ


โครงสร้างสังคมประกอบด้วย
1. กลุ่มสังคม
2. สถาบันทางสังคม
3. สถานภาพและบทบาทในสังคม
4. บรรทัดฐานทางสังคม...(อ่านต่อ)